เชื่อว่าใครก็อยากจะมีฟันที่เรียงตัวสวยงาม เวลายิ้มหรือพูดคุยก็จะมีความมั่นใจ แต่ปัญหาฟันเป็นสิ่งที่เลือกไม่ได้ ซึ่งหากเกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว สิ่งที่ทำได้คือการหาวิธีแก้ไขหรือการรักษา เช่นเดียวกับปัญหาฟันล่างคร่อมฟันบนที่เป็นปัญหากวนใจและเป็นอุปสรรคต่อความมั่นใจในการยิ้มอย่างมาก แต่ไม่จำเป็นต้องกังวลมากจนเกินไป เพราะการจัดฟันช่วยคุณได้!
ฟันล่างคร่อมฟันบน เกิดจากอะไร
ก่อนอื่นจะต้องมาทำความรู้จักก่อนว่าปัญหาฟันล่างคร่อมฟันบนเกิดจากการฟันมีการสบฟันผิดปกติ ทำให้ใบหน้าดูไม่ได้สัดส่วน ซึ่งจะมีทั้งแบบฟันล่างเกยฟันบนออกมาเป็นบางซี่หรือการเกยฟันบนออกมาทั้งแถบ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัยและสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่
- เกิดจากกรรมพันธุ์
- ความผิดปกติของแนวขากรรไกร
- เกิดอุบัติเหตุหรือเกิดการกระแทกรุนแรงบริเวณฟันน้ำนม
- สูญเสียฟันน้ำนมเร็วด้านล่างกว่ากำหนด ทำให้กระดูกบริเวณขากรรไกรล่างเจริญเติบน้อย
- เกิดจากการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกรบนและล่างไม่เท่ากัน เช่น ขากรรไกรล่างมีการเติบโตช้ากว่าขากรรไกรบน
ผลกระทบจากฟันล่างคร่อมฟันบน
ปัญหาฟันล่างคร่อมฟันบนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น รับประทานอาหารลำบาก มีปัญหาเรื่องการออกเสียงในบ้างคำหรือบางพยัญชนะ มีอาการปวดศีรษะ ปวดหู ขากรรไกรหรือข้อต่อแบบเรื้อรัง และทำให้บุคลิกภาพหรือความมั่นใจลดลง
นอกจากนี้อาจเกิดภาวะหยุดหายใจชั่วคราวระหว่างนอน ส่งผลให้นอนกรนและมีการหายใจลำบากขณะนอนหลับ และยังส่งผลต่อปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันอื่นๆ เช่น ฟันผุเพราะเคลือบฟันกร่อนมากเกินไป หรือมีกลิ่นปากและมีการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก เป็นต้น
วิธีรักษาฟันล่างคร่อมฟันบน
ปัญหาฟันล่างคร่อมฟันบนเป็นปัญหาที่ทำให้ความมั่นใจลดลง โดยจะสามารถรักษาได้ด้วยวิธีทางทันตแพทย์ ได้แก่
1. การจัดฟันแบบไม่ผ่าตัด
โดยปกติแล้วจะเป็นวิธีการรักษาในกรณีที่มีความผิดปกติหรือความรุนแรงไม่เยอะ ซึ่งการจัดฟันจะสามารถดันซี่ฟันหรือดันแถบฟันล่างเข้าไปได้โดยไม่ต้องผ่าตัด
2. ผ่าตัดขากรรไกร
การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร เป็นวิธีการรักษาในกรณีที่มีความผิดปกติที่ค่อนข้างรุนแรง และการจัดฟันอย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ซึ่งจะเป็นวิธีรักษาที่จะทำให้โครงหน้าส่วนล่างมีความสมดุล ดูมีมิติ และได้สัดส่วนมากยิ่งขึ้น (อ่านเพิ่มเติม: จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร แก้ปัญหาได้มากกว่าที่คิด)
ฟันล่างคร่อมฟันบน จัดฟันได้ไหม
หากมีปัญหาฟันล่างคร่อมฟันบนสามารถจัดฟันได้ แต่หากมีความผิดปกติรุนแรง ควรจะทำการผ่าตัดขากรรไกรร่วมด้วยเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดขากรรไกร
เมื่อได้ปรึกษาเกี่ยวกับการผ่าตัดเพื่อแก้ปัญหาฟันล่างคร่อมฟันบน และได้รับการนัดหมายจากทันตแพทย์เพื่อทำการผ่าตัดขากรรไกรเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีข้อปฏิบัติก่อนการผ่าตัด ดังนี้
- งดการใช้ยาบางชนิดอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด เช่น แอสไพริน ไอบิวโพรเฟน และวิตามิน
- งดอาหารและน้ำก่อนวันผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง
- หากมีโรคประจำตัว จะต้องแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบก่อนผ่าตัด
- หากยังมีรับประทานยาอยู่ อาจจะต้องหยุดรับประทานยาก่อน เช่น ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ซึ่งจะต้องปรึกษากับทางแพทย์และทันตแพทย์ก่อน
- ทำความสะอาดช่องปาก แปรงฟัน และบ้วนปากให้สะอาด
วิธีการดูแลหลังผ่าตัดขากรรไกร
หลังจากการผ่าตัดขากรรไกรเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีวิธีการดูแลตัวเอง ดังนี้
- เวลานอนให้ศีรษะอยู่ตำแหน่งที่สูง เพื่อลดการเกิดอาการบวม
- รับประทานยาให้ครบ ห้ามขาด เพิ่มหรือลดยาเองโดยเด็ดขาด
- ในวันแรกควรจะทำการประคบเย็นก่อน หลังจากนั้นจึงควรประคบอุ่นเพื่อลดอาการบวม
- รักษาความสะอาดและสุขอนามัยในช่องปาก และหมั่นบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
- ในระหว่างการพักฟื้น ควรขยับใบหน้าบ้าง เพื่อให้ขากรรไกรได้มีการเคลื่อนไหว
- ระมัดระวังเรื่องการรับประทานอาหารในช่วงเดือนแรก อาจจะมีการกินอาหารเหลวและใสก่อน
- งดการออกกำลังกายอย่างหนัก และกิจกรรมที่ต้องใช้แรงเยอะในช่วงเดือนแรก
- ควรหลีกเลี่ยงการขากเสมหะแรง ๆ หรือการสัมผัสแผลโดยตรง เพราะอาจจะทำให้แผลเปิด มีเลือดออก หรือฉีกขาดได้
บทสรุป
ปัญหาฟันล่างคร่อมฟันบนสามารถจัดฟันได้ และสามารถทำได้ทั้งแบบจัดฟันอย่างเดียวโดยไม่ผ่าตัดและจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหาและการประเมินของทันตแพทย์ และสิ่งสำคัญในการตัดสินใจเลือกที่จะรักษาก็คือการเลือกคลินิกที่ได้มาตรฐาน เพราะการจัดฟันอาจจะใช้เวลานานหลายปี ดังนั้นจึงควรที่จะจัดฟันกับคลินิกที่มีคุณภาพและมีการบริการที่ดี
และหากใครที่กำลังมองหาคลินิกทันตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาฟันล่างคร่อมฟันบน SUKSANSMILEPLUS ยินดีให้บริการ เพราะที่คลินิกทันตกรรมสุขสันต์สไมล์นั้นมีทีมทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในเรื่องของการจัดฟัน นอกจากนี้เครื่องมือทันตกรรมที่นี่ก็เป็นเครื่องมือที่ทันสมัยอีกด้วย
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- บทความเพิ่มเติม: การจัดฟันดีอย่างไร? ช่วยเรื่องอะไรได้บ้าง
- บทความเพิ่มเติม: ไขข้อสงสัย ก่อนและหลังจัดฟัน รูปหน้าเปลี่ยนจริงหรือไม่?