เมื่อพูดถึงการผ่าฟันคุด เชื่อว่าหลายคนจะรู้สึกเจ็บปวดที่ฟันขึ้นมาเลย เพราะส่วนใหญ่แล้วเมื่อมีฟันคุดก็จะมาพร้อมกับความเจ็บปวดในช่องปากนั่นเอง แต่ก็อาจจะยังมีหลายคนที่ยังไม่เคยเผชิญกับฟันคุด ซึ่งในวันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับฟันคุด และวิธีการรักษาอย่างปลอดภัย
ทำความรู้จัก ฟันคุดคืออะไร?
ฟันคุด คือ ฟันแท้ที่ไม่สามารถงอกขึ้นมาเหมือนกันฟันปกติได้ โดยปกติจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหากตัวฟันไม่ได้โผล่พ้นขึ้นมาเหนือเหงือก ต้องใช้การเอกซเรย์จึงจะสามารถเห็นได้
ซึ่งการเกิดฟันคุดเป็นปัญหาทางทันตกรรมที่มีสาเหตุมาจากระบบการบดเคี้ยวอาหารได้รับการพัฒนาให้กินอาหารได้ดียิ่งขึ้น ขนาดของกระดูกขากรรไกรจึงมีขนาดที่เล็กลงเรื่อย ๆ และส่งผลทำให้ให้ฟันคุดซึ่งเป็นฟันกรามซี่สุดท้ายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดไม่มีพื้นที่พอที่จะขึ้นได้อย่างปกตินั่นเอง
การผ่าฟันคุดคืออะไร
เป็นการรักษาฟันคุดในกรณีที่ฟันคุดซี่นั้นยังอยู่ใต้เหงือก หรือโผล่พ้นจากเหงือกมาแล้วแต่ขึ้นไม่หมดทั้งซี่ โดยที่ทันตแพทย์จะทำการเปิดเหงือก กรอกระดูก หรือแบ่งฟันเป็นชิ้น ๆ รวมถึงเย็บแผลเพิ่มเติม ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายจนถึงช่วงต้นของวัยผู้ใหญ่
อาการแบบไหนที่ควรผ่าฟันคุด
การผ่าฟันคุด เป็นบริการทันตกรรมที่สร้างความเจ็บปวดไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะต้องผ่าฟันคุด ดังนั้น วันนี้เราจะพามาดูว่าอาการแบบไหนที่ควรพบทันตแพทย์เพื่อผ่าฟันคุดโดยเร็ว
ปัญหาบริเวณเหงือกและขากรรไกร
เวลาที่เป็นฟันคุด มักจะไม่ได้รู้สึกเจ็บปวดเฉพาะบริเวณฟันเท่านั้น แต่ส่งผลกระทบต่อเหงือกด้วยเช่นกัน ซึ่งจะมีอาการปวดตึง อักเสบ มีเลือดออกบริเวณเหงือก หรือเหงือกบวม โดยที่อาการบวมนี้อาจลามไปถึงแก้มหรือกราม ซึ่งก็เป็นผลมาจากการอักเสบหรือติดเชื้อนั่นเอง
ปัญหาฟันผุ
หากมีปัญหาฟันผุร่วมกับฟันคุด ควรจะรีบพบทันตแพทย์ในทันที เนื่องจากปัญหาฟันผุนี้เกิดจากการแปรงฟัน และการใช้ไหมขัดฟันยากกว่าปกติ หากปล่อยไว้จะส่งผลทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ จากปัญหาฟันผุตามมาได้อีก
ปัญหากลิ่นปาก
เนื่องจากการทำความสะอาดภายในช่องปากที่ยากกว่าปกติ ทำให้การรับรสและลมปากมีกลิ่นผิดปกติ เพราะเศษอาหารที่รับประทานเข้าไปได้เข้าไปติดในบริเวณที่ทำความสะอาดยาก
ปัญหาบริเวณนอกช่องปาก
นอกจากปัญหาภายในช่องปากแล้ว ในบางกรณีอาจมีอาการบวมหรืออักเสบที่ลุกลามออกมาจากช่องปาก ซึ่งจะมีทั้งอ้าปากลำบากและเจ็บเวลาที่อ้าปาก
ค่ารักษาในการผ่าฟันคุด
การผ่าฟันคุด จะมีค่ารักษาที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ตำแหน่งของฟันคุด การวางตัวของฟันคุด ความยาก-ง่ายในการขั้นตอนการผ่าตัดและรักษาเพิ่มเติม รวมถึงศูนย์ทันตกรรมที่เข้ารับการรักษาด้วย
วิธีดูแลหลังผ่าฟันคุด
หลังจากการผ่าฟันคุดควรรับประทานยาให้ครบ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด และมีข้อปฏิบัติ 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าฟันคุดดังต่อไปนี้
- 2 ชั่วโมงแรกหลังผ่าฟันคุด ทันตแพทย์จะห้ามเลือดด้วยการเอาผ้ากอซอุดไว้ที่แผลผ่าฟันคุด ให้กัดผ้ากอซไว้ อย่าบ้วนน้ำลายหรือเลือดทิ้งเพราะอาจทำให้เลือดไม่ยอมหยุดไหล แนะนำให้กลืนเลือดและน้ำลายแทน
- หลัง 2 ชั่วโมงแรกหลังผ่าฟันคุด ให้เปลี่ยนหรือคายผ้ากอซทิ้ง และเปลี่ยนผ้ากอซใหม่ จากนั้นกัดต่ออีก 1 ชั่วโมง ระหว่างเปลี่ยนผ้ากอซห้ามดูดหรือเลียแผลโดยเด็ดขาด หากครบ 1 ชั่วโมง แล้วไม่มีเลือดออกมา ก็ไม่จำเป็นต้องกัดผ้ากอซต่อ แต่ถ้ายังมีก็ให้เปลี่ยนอีกจนกว่าเลือดจะหยุดไหล
- 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าฟันคุด ให้หมั่นตรวจอาการบวม หากมีอาการบวมบริเวณแก้ม สามารถใช้น้ำแข็งประคบเย็นทุกครึ่งชั่วโมง เพื่อช่วยลดอาการบวมได้ แต่ห้ามอมน้ำแข็งไว้ในปาก ห้ามบ้วนเลือดหรือน้ำลาย และห้ามกลั้วปากหรือบ้วนน้ำสะอาด หรือน้ำอุ่น
หลังผ่าฟันคุด กี่วันถึงจะหาย
โดยปกติหลังจากผ่าฟันคุดแล้ว แผลผ่าฟันคุดจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์จึงจะหายเป็นปกติ ซึ่งการดูแลจะค่อนข้างยุ่งยากในช่วง 3-7 วันแรกเท่านั้น หากเลือดหยุดไหลแล้วก็ควรระมัดระวังข้อห้ามปฏิบัติหลังผ่าฟันคุดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การสะกิด หรือทำให้แผลฉีกขาด เป็นต้น
บทสรุป
ปัญหาฟันคุดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และการรักษาฟันคุดในปัจจุบันก็มีเครื่องมือที่มีคุณภาพและปลอดภัย ซึ่งหากพบว่ามีฟันคุดเกิดขึ้น ควรจะรีบพบทันตแพทย์โดยเร็ว เพื่อตรวจเช็กว่าเป็นฟันคุดที่สามารถถอนออกได้ หรือเป็นฟันคุดที่จะต้องผ่าตัด เนื่องจากการปล่อยฟันคุดเอาไว้ อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันอื่น ๆ ตามมาได้
หากใครที่ต้องการบริการทางทันตกรรมที่มีให้เลือกอย่างหลากหลายและครอบคลุมมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษา บริการขูดหินปูน หรือการรักษารากฟัน ก็สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ Suksan Smile เพราะเป็นคลินิกทันตกรรมที่มีครบทุกความต้องการ