logo

หมอฟันเด็กแตกต่างจากหมอฟันผู้ใหญ่อย่างไร

หมอฟันเด็กแตกต่างจากหมอฟันผู้ใหญ่อย่างไร

Table of Contents

รู้หรือไม่ว่าโรคกลัวหมอฟันส่วนใหญ่มาจากประสบการณ์ในวัยเด็กหรือความฝังใจในวัยเด็กที่มีต่อการทำฟันหรือการไปคลินิกทันตกรรม การไปหมอฟันเด็กโดยเฉพาะจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีกับการทำฟัน หรือเกิดทัศนคติในด้านลบ เพราะหมอฟันเด็กมักจะมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านทันตกรรมสำหรับเด็กอยู่แล้ว

โรคกลัวหมอฟันคืออะไร

โรคกลัวหมอฟันคืออะไร

โรคกลัวหมอฟัน (Dentophobia) คือ อาการเครียดหรือวิตกกังวลอย่างหนักเมื่อต้องไปพบทันตแพทย์ หรือมีอาการเจ็บปวดที่ฟันขึ้นมา เพราะไม่อยากไปทำฟัน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ไม่สามารถไปตรวจสุขภาพฟันหรือไปรักษาเมื่อเกิดปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันได้ และเมื่อมีการปล่อยไว้ก็จะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันที่อาจจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น 

หมอฟันเด็กคืออะไร 

หมอฟันเด็ก คือ หมอฟันหรือทันตแพทย์ที่ได้ศึกษาต่อสาขาทันตกรรมสำหรับเด็กหรือทำฟันเด็ก ซึ่งจะเป็นหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับทันตกรรมสำหรับเด็กโดยตรง จึงจะมีทักษะ มีจิตวิทยาในการรักษา และมีความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของเด็กเป็นอย่างดี

ต่างจากหมอฟันผู้ใหญ่อย่างไร

เนื่องจากฟันของเด็กมีความแตกต่างกับฟันของผู้ใหญ่ จึงมีความจำเป็นต้องมีการรักษาโดยหมอฟันที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการรักษาฟันเด็ก และสิ่งที่สำคัญคือ หมอฟันเด็กจะมีจิตวิทยาในการรักษาและการพูดคุยกับเด็ก เพราะการทำฟันเด็กเป็นเรื่องที่ยาก ซึ่งเด็กอาจจะไม่ให้ความร่วมมือเท่ากับผู้ใหญ่ และไม่สามารถนอนนิ่ง ๆ ให้รักษาได้ จึงต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์อย่างมาก

นอกจากนี้ ยังต้องมีวิธีการสื่อสารให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของลูกได้กระชับ ตรงจุด และไม่ดูเป็นการบังคับจนเกินไป เพราะอาจทำให้ลูกรู้สึกไม่สบายใจจนอาจส่งผลให้มีทัศนคติในด้านลบเกี่ยวกับการดูแลความสะอาดช่องปากและฟันได้

ทันตกรรมสำหรับเด็กมีอะไรบ้าง

ทันตกรรมสำหรับเด็กจะมีหลัก ๆ อยู่ 9 ประเภท ได้แก่

  1. การตรวจสุขภาพฟันเด็ก และให้คำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากให้กับพ่อแม่
  2. การอุดฟันน้ำนม
  3. การถอนฟันน้ำนม กรณีที่ไม่สามารถหลุดเองได้
  4. การเคลือบฟลูออไรด์ฟันน้ำนม
  5. การเคลือบหลุมร่องฟันสำหรับเด็ก
  6. การขูดหินปูนสำหรับเด็ก
  7. การรักษารากฟันน้ำนม
  8. การครอบฟันน้ำนม กรณีที่มีฟันน้ำนมผุเป็นจำนวนมาก
  9. การใส่อุปกรณ์ป้องกันฟันล้ม หรือการจัดฟันเด็ก

ควรพาลูกไปพบหมอฟันครั้งแรกเมื่อไหร่

สำหรับการพาลูกไปพบหมอฟันเพื่อตรวจสุขภาพและรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลรักษาฟัน ควรจะทำตั้งแต่ช่วง 6 เดือน เนื่องจากเป็นช่วงที่ฟันน้ำนมเริ่มขึ้นแล้ว และเป็นการสร้างความคุ้นเคยให้เด็กในการมาพบหมอฟัน โดยไม่ต้องรอให้ฟันผุหรือมีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันก่อน (เรียนรู้เพิ่มเติม: ควรพาลูกไปพบหมอฟันเด็กครั้งแรกเมื่อไหร่)

ทำไมต้องทำฟันกับหมอฟันเด็ก

ทำไมต้องทำฟันกับหมอฟันเด็ก

การพาลูกมาทำฟันกับหมอฟันเด็กมีข้อดีมากมาย ได้แก่

  • หมอฟันเด็กมีความเข้าใจในธรรมชาติของเด็กที่อาจจะไม่สามารถอยู่นิ่ง ๆ หรือให้ความร่วมมือได้เหมือนผู้ใหญ่ และจะมีการแสดงออกและใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวลและใจเย็น ไม่สร้างบาดแผลหรือความไม่สบายใจให้กับเด็ก
  • ใช้หลักจิตวิทยาเข้ามาช่วยรับมือกับความกลัวของเด็ก เพื่อควบคุมสถานการณ์และสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายในการรักษา
  • นอกจากหมอฟันแล้วจะมีทีมผู้ช่วยที่สามารถรับมือกับเด็กได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นคนที่ใจเย็น พูดจานุ่มนวล ไม่ทำให้เด็กกลัว และช่วยให้หมอฟันทำงานได้ง่ายขึ้น
  • การตกแต่งห้องตรวจที่มีความน่ารัก และมีห้องสำหรับให้เด็กเล่นเพื่อรอทำฟันและหลังจากทำฟัน จะช่วยให้เด็กรู้สนุกสนุกและผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น

ทันตกรรมสำหรับเด็กที่สุขสันต์สไมล์พลัส

คลินิกทันตกรรมสุขสันต์สไมล์พลัส มีบริการทันตกรรมสำหรับเด็ก โดยหมอฟันเด็กที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการทำฟันเด็กโดยเฉพาะ พร้อมบริการด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัยและสะอาด มีการตกแต่งห้องตรวจให้มีความน่ารัก และมีห้องของเล่นแสนสนุก ถือเป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีและทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายในช่วงที่มาทำฟันได้

บทสรุป

เนื่องจากฟันของผู้ใหญ่กับเด็กมีความแตกต่างกัน การเลือกทำฟันกับหมอฟันเด็กจึงมีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะกับเด็กเล็กที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ และต้องการบรรยากาศที่ไม่สร้างความอึดอัดหรือกดดัน จนทำให้กลัวการไปพบหมอฟัน ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้สามารถส่งผลไปถึงอนาคต และอาจกลายเป็นโรคกลัวหมอฟันในที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง:

ทพ. ปุณณวิชช์ เจียมใจสว่างฤกษ์
ทพ. ปุณณวิชช์ เจียมใจสว่างฤกษ์

ผู้เชี่ยวชาญด้าน ทันตกรรมประดิษฐ์ ทันตกรรมรากเทียม จัดฟันใส จัดฟันโลหะ วีเนียร์เซรามิก และเป็นผู้บริหารคลินิก SuksanSmilePlus

Share This Post

Share on facebook
Share on linkedin
Share on twitter
Share on email
Related Post: