logo

ปัญหาเหงือกบวม เกิดจากอะไร จะรักษาด้วยวิธีไหนดี ?

ปัญหาเหงือกบวม เกิดจากอะไร จะรักษาด้วยวิธีไหนดี

อาการเหงือกบวมเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งอาจจะไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวนัก แต่หากปล่อยให้มันอักเสบไปนาน ๆ ก็ไม่ดีเช่นกัน การเกิดอาการเหงือกบวมเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ อาจจะมีอาการบวมบริเวณฟันซี่ใดซี่หนึ่งโดยเฉพาะ สาเหตุของเหงือกอักเสบแบบนี้ เกิดขึ้นจากสุขอนามัยทางทันตกรรมที่ไม่ดีพอ เช่น มีเศษอาหารติดอยู่ในเหงือกเนื่องจากการแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟันที่ไม่เหมาะสม เศษอาหารเหล่านี้อาจทำให้เกิดการอักเสบและฟันผุเมื่อปล่อยทิ้งไวนาน ๆ 

ในบางครั้ง การบวมของเหงือกรอบ ๆ ฟันซี่หนึ่งอาจบ่งบอกถึงอาการที่รุนแรงกว่านั้น เช่น การติดเชื้อ หากเกิดปัญหาแบบนี้ขึ้นกับคุณแล้วไม่รักษาปัญหาทางทันตกรรมอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่ปัญหาที่ร้ายแรงยิ่งขึ้นได้ ทางทันตแพทย์จากสุขสันต์สไมล์คลินิกทันตกรรม จะสรุปสาเหตุที่เป็นไปได้ของเหงือกบวม อีกทั้งยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาและเวลาไปพบทันตแพทย์อีกด้วย

เหงือกบวมเกิดจากอะไร ?

แม้ว่าเหงือกบวมมักจะเกิดขึ้นเนื่องจากโรคเหงือกอักเสบ แต่ก็มีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายที่สามารถมีส่วนในการทำให้เหงือกบวมได้ เช่น การตั้งครรภ์ ภาวะทุพโภชนาการ หรือการติดเชื้อบางประเภท ทำให้ก่อนคุณจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุที่จะสามารถนำไปสู่อาการเหงือกบวมก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการเหงือกบวมในอนาคต

ปัญหาเหงือกบวม เกิดจากอะไร

โรคเหงือกอักเสบ

โรคเหงือกอักเสบเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของเหงือกบวม เป็นโรคเหงือกที่ทำให้เหงือกของคุณเกิดการระคายเคืองและบวม หลายๆ คนไม่รู้ว่าตนเป็นโรคเหงือกอักเสบเพราะอาการอาจไม่รุนแรงนัก อย่างไรก็ตาม หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา โรคเหงือกอักเสบก็สามารถนำไปสู่ภาวะที่ร้ายแรงกว่านั้นที่เรียกว่า โรคปริทันต์อักเสบ (อาการเหงือกไม่ยึดกับฟัน ร่วมกับมีการทำลายกระดูกที่รองรับตัวฟัน) และอาจสูญเสียฟันได้ในที่สุด และทำให้ต้องทำการรักษาด้วยรากฟันเทียมต่อไป (รากฟันเทียม ทำแล้วเจ็บไหม ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง)

โรคเหงือกอักเสบมักเป็นผลมาจากสุขอนามัยในช่องปากที่ไม่ดี ซึ่งทำให้คราบพลัคสะสมบนแนวเหงือกและฟัน คราบพลัคที่เกิดขึ้นนั้นประกอบด้วยแบคทีเรียและเศษอาหารที่สะสมอยู่บนฟันเมื่อเวลาผ่านไป หากคราบพลัคอยู่บนฟันนานกว่า 2-3 วัน ก็จะกลายเป็นหินปูน หินปูนเป็นคราบจุลินทรีย์ที่แข็งตัว ซึ่งไม่สามารถขจัดออกได้โดยใช้ไหมขัดฟันและการแปรงฟันเพียงอย่างเดียว การสะสมของหินปูนอาจทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบได้ ทำให้คุณจะต้องไปทำการขูดหินปูนเป็นประจำทุกปี

การตั้งครรภ์

เหงือกบวมอาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างตั้งครรภ์ ฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตอย่างรวดเร็วในระหว่างตั้งครรภ์อาจเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในเหงือก การไหลเวียนของเลือดที่เพิ่มขึ้นนี้อาจทำให้เหงือกของคุณเกิดการระคายเคืองได้ง่ายขึ้น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเหล่านี้ยังไปทำให้การทำลายเชื้อโรคต่าง ๆ ได้น้อยลงทำให้ร่างกายต่อสู้กับแบคทีเรียที่มักทำให้เกิดการติดเชื้อที่เหงือกได้ไม่ดี ทำให้เพิ่มโอกาสในการเป็นโรคเหงือกอักเสบได้

ภาวะทุพโภชนาการ

การขาดวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินบีและซี อาจทำให้เหงือกบวมได้ ทำให้คุณจะต้องใส่ใจเรื่องของการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และการรับประทานวิตามินเสริมบีและซีเข้าไปจะช่วยลดอาการโรคเหงือกอักเสบได้

อย่างวิตามินซีมีบทบาทสำคัญในการบำรุงและซ่อมแซมฟันและเหงือกของคุณ หากระดับวิตามินซีของคุณลดลงต่ำเกินไป คุณอาจเป็นโรคเลือดออกตามไรฟันได้ เลือดออกตามไรฟันอาจทำให้เกิดโรคโลหิตจางและโรคเหงือกอย่างแน่นอน

การติดเชื้อ

การติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อราและไวรัสอาจทำให้เหงือกบวมได้ หากคุณมีโรคเริม อาจนำไปสู่ภาวะที่เรียกว่าโรคเหงือกอักเสบชนิดเฉียบพลัน ซึ่งทำให้เกิดเหงือกบวม หรือฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดฝีในฟัน ซึ่งเป็นอาการเหงือกบวมเฉพาะที่ซึ่งต้องได้รับการรักษาจากทันตแพทย์อย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้คุณต้องสูญเสียฟันไปอย่างแน่นอน

ทางเลือกในการรักษาเหงือกบวม

วิธีการรักษาเหงือบวม

การรักษาทางการแพทย์

หากเหงือกบวมเกิน 2 สัปดาห์และยังไม่มีวี่แววว่าจะหาย ควรปรึกษาแพทย์ทันตแพทย์ ทันตแพทย์จะถามคำถามว่าอาการของคุณเริ่มเมื่อใดและเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน อาจจำเป็นต้องเอกซเรย์ฟันทั้งปากเพื่อตรวจสอบการสูญเสียมวลกระดูก อาจจะมีการตรวจตั้งครรภ์ (ผู้หญิง) หรือคุณมีการรับประทานอาหารที่ผิดปกติเมื่อเร็ว ๆ นี้หรือไม่ อาจมีสั่งการตรวจเลือดเพื่อตรวจหาการติดเชื้อ

ทันตแพทย์อาจสั่งน้ำยาบ้วนปากเพื่อช่วยป้องกันโรคเหงือกอักเสบและลดคราบพลัค ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุของเหงือกบวมของคนไข้แต่ละคน ทันตแพทย์จะแนะนำให้คุณใช้ยาสีฟันที่ดีต่อช่องปาก ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ หากคุณเป็นโรคเหงือกอักเสบขั้นรุนแรง คุณอาจต้องได้รับการผ่าตัด โดยปกติจะใช้รักษาคนไข้ที่เป็นโรคเหงือกอักเสบแบบรุนแรง รวมถึงโรคปริทันต์อักเสบ 

สำหรับทางเลือกการรักษาทั่วไปและการป้องกันที่ดีที่สุดทันตแพทย์จะขูดเหงือกที่เป็นโรค คราบจุลินทรีย์ และแคลคูลัสหรือหินปูนบนรากฟันออกเพื่อให้เหงือกที่เหลือสมานตัวได้ดีขึ้น

การรักษาที่บ้าน

รักษาเหงือกบวมในระยะแรก ๆ ด้วยตนเองที่บ้านเพื่อลดอาการเหงือกบวมสามารถทำได้เช่นกัน คนไข้สามารถบรรเทาอาการเหงือกบวมของคุณด้วยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเบา ๆ เพื่อจะได้ไม่ระคายเคืองเหงือก และทำให้บริเวณที่เกิดอาการบวมสะอาดที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น

คนไข้สามารถบ้วนปากด้วยน้ำเกลือเพื่อกำจัดแบคทีเรียในปาก พร้อมกับการดื่มน้ำมาก ๆ น้ำจะช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำลาย ซึ่งจะทำให้แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคในปากอ่อนแอลง โดยคนไข้จะต้องหลีกเลี่ยงสารระคายเคือง เช่น น้ำยาบ้วนปากเข้มข้น แอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำขณะเกิดการบวมของเหงือก

วิธีการจะป้องกันเหงือกบวม

  • การดูแลช่องปาก แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร พบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือนเพื่อทำความสะอาดขูดหินปูน เพิ่มความเสี่ยงต่อการสะสมของคราบพลัคและหินปูนได้
  • คลายเครียด งานวิจัยบางชิ้นชี้ให้เห็นว่าความเครียดเรื้อรังอาจเชื่อมโยงกับความเสี่ยงโรคเหงือกที่เพิ่มขึ้น ความเครียดยังอาจเพิ่มความรุนแรงของปัญหาเหงือกและลดประสิทธิภาพของการรักษาอีกด้วย
  • ยาสีฟันที่ดีต่อเหงือก ยาสีฟันบางประเภทมีส่วนผสมที่สามารถช่วยปรับปรุงสุขภาพช่องปากได้โดยการลดอาการเสียวฟัน บรรเทาอาการเหงือกอักเสบ ลดการก่อตัวของหินปูน หรือป้องกันการสึกกร่อนของเคลือบฟัน เช่น การเลือกยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์และไม่มีน้ำตาลหรือสารแต่งกลิ่นอื่น ๆ ที่อาจทำให้ฟันผุได้
ขูดหินปูน

สรุป

ปัญหาเหงือกบวม เป็นปัญหาที่ทุกคนมักจะเจอเป็นประจำ ซึ่งอาจจะไม่ใช้ปัญหาที่ร้ายแรงและการปล่อยให้เหงือกบวม อาจจะนำไปสู่โรคเหงือกอักเสบ และโรคอื่น ๆ ตามมา ซึ่งหากพบว่าเหงือกของคนไข้มีการบวกนานผิดปกติ หรือมีความเจ็บปวดที่รุนแรงขึ้น การเข้าไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาจะดีที่สุด และอย่างลืมรักษาสุขภาพช่องปากเป็นประจำ เพื่อให้ฟันและเหงือกแข็งแรงอยู่เสมอเป็นวิธีการป้องกันเหงือกบวมได้ดีที่สุด

Share This Post

Share on facebook
Share on linkedin
Share on twitter
Share on email

More To Promotion