ฟันคุดคือฟันกรามซี่สุดท้ายที่ไม่สามารถขึ้นเหมือนฟันปกติได้ ฟันคุดเป็นฟันที่ทำให้เรามักจะมีอาการเจ็บปวดอยู่บ่อยครั้ง รวมไปถึงผลกระทบข้างเคียง เช่น อาการฟันผุ เหงือกอักเสบ เป็นต้น เนื่องจากฟันคุดอยู่ในจุดที่เราทำความสะอาดไม่ทั่วถึง หากสังเกตุพบว่าฟันคุดเริ่มขึ้นมาแล้วส่วนมากจะต้องผ่าฟันคุดหรือถอนฟันคุดเพราะรู้สึกเจ็บและเพื่อป้องกันการเสียหายของฟันซี่อื่น
หลายคนอาจมีความกังวลใจว่าการผ่าฟันคุดนั้นอันตรายหรือไม่ เจ็บไหม ผ่ากี่วันถึงจะหาย จะต้องดูแลยังไง และสามารถกินอาหารได้ปกติหรือไม่
เพื่อความสบายในใจการเข้าใช้บริการผ่าฟันคุดและหมดกังวลเกี่ยวกับการผ่าฟันคุด สุขสันต์สไมล์พลัสจะทำการอธิบายรายละเอียดตามหัวข้อดังนี้
ผ่าฟันคุดกี่วันหาย
โดยปกติการผ่าฟันคุดทั่วไประยะเวลาการหายของแผลจะใช้เวลาประมาณ 3-7 วัน และในส่วนของการผ่าฟันคุดแบบเย็บแผลจะต้องเข้าพบแพทย์เพื่อติดตามอาการหลังผ่าและทำการตัดไหมหลังจากวันที่ผ่าประมาณ 7-14 วัน
ผ่าฟันคุดกี่วันถึงจะหายปวด ?
โดยปกติแล้วอากรปวดและบวมจะเกิดขึ้นในช่วง 2-3 วันแรก สามารถรับประทานยาแก้วปวดและอักเสบตามที่ทันตแพทย์สั่งได้เลย หลังจากนั้นอาการก็ดีขึ้นเรื่อย ๆตามระยะเวลาโดยประมาณ 7 วัน
อาการหลังผ่าฟันคุด
- ในช่วงวันแรกหลังจากผ่าฟันคุดจะมีอาการบวมภายในและเลือดซึมจากแผลเล็กน้อย จะต้องกัดผ้าก๊อซทิ้งไว้จนเลือดหยุดและห้ามบ้วนน้ำลาย
- หลังจากครบ 24 ชั่วโมงหลังจากการผ่าหากมีอาการปวดและบวมให้ประคบเย็นเพื่อลดอาการเหล่านี้
- หลังจากครบ 48 ชั่วโมงให้เปลี่ยนมาประคบร้อนแทนเพื่อลดอาการช้ำ การประคบจะต้องประคบภายนอกเท่านั้นและห้ามอมน้ำแข็งและบ้วนปากโดยน้ำอุ่น
- หลังผ่าฟันคุดในช่วงวันที่ 3-5 วัน จะยังคงมีอาการปวดและบวมอยู่ แต่ก็จะบรรเทาลง ควรรับประมานยาตามที่ทันตแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่องและแนะนำให้ประคบน้ำเย็นควบคู่ไปด้วย การทำความสะอาดควรแปรงฟันและบ้วนปากเบาๆ
- หลังจากผ่าฟันคุดครบ 1 สัปดาห์ อาการปวดและบวมจะเริ่มจางหาย หากมีไม่อาหารข้างเคียงหรืออาการผิดปกติก็สามารถทำการตัดไหมได้เลย
หลังผ่าฟันคุดสามารถกินอะไรได้บ้าง ?
หลังจากผ่าฟันคุดช่วง 1-2 วันแรกควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เผ็ดร้อน แอลกอฮอล์ และอาหารที่แข็งและเหนียว เนื่องจากหากอาหารไปกระทบกับแผลอาจทำให้เกิดการอักเสบและระคายเคืองได้
อาหารที่ควรกินหลังจากผ่าฟันคุด ได้แก่
- น้ำเปล่า นม
- โยเกิร์ต
- ขนมปัง (ไม่ควรมีงาหรือเม็ดต่างๆ)
- ผักที่ต้มมสุกแล้ว เช่น ผักกาดขาว กะหล่ำปี เป็นต้น
- โจ๊กหรือซุปต่างๆ
- อาหารนิ่มที่เคี้ยวง่าย เช่น เนื้อปลา ไข่ตุ๋น ข้ามต้ม เต้าหู้ เป็นต้น
หลังจากผ่าฟันคุดได้ประมาณ 1 สัปดาห์หรือแผลหายดีแล้วก็สามารถกินอาหารได้ตามปกติ
หลังผ่าฟันคุดห้ามกินอะไรบ้าง ?
หลังผ่าฟันคุดจะมีอาหารแผลบวมและเลือดซึมบริเวณแผลควรปฏิบัติขั้นตอนการดูแลตามที่ทันตแพทย์แนะนำและควนหลีกเลี่ยงอาหารที่เสี่ยงต่ออาการแผลบวมและอักเสบ
ข้อห้ามและอาหารที่ไม่ควรกินหลังผ่าฟันคุด ได้แก่
- ห้ามสูบบุหรี่
- ห้ามดื่มแอลกอฮอล์
- อาหารรสจัด เช่น รสเผ็ด และเปรี้ยว
- อาหารที่เคี้ยวยากและเเข็ง
- อาหารทะเล
- อาหารที่ร้อนจัดและเย็นจัด
- ห้ามใช้ลิ้นเขี่ยบริเวณแผล
- ห้ามใช้นิ้วกดที่แผล
- หลีกเลี่ยงการใช้หลอดดูน้ำ
- งดออกกำลังกายในช่วงแรก 3-7 วัน
ผลข้างเคียงจากการผ่าฟันคุด
หลังการผ่าฟันคุด อาจเกิดผลข้างเคียงหลายอย่าง
อาการบวมและอักเสบ
บวมและและอักเสบในส่วนที่ถูกผ่าฟันคุดเป็นผลข้างเคียงที่ปกติหลังการผ่าฟันคุด การบวมอาจเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่วันหลังการผ่าฟันคุดและมักจะสามารถควบคุมได้ด้วยการใช้ยาและการประคบเย็น
อาการปวด
การผ่าฟันคุดสามารถทำให้มีอาการปวดหลังหลังอยู่ โดยทั่วไปอาการปวดจะสูงสุดในวันแรกหรือสองหลังผ่าฟันคุด ทันตแพทย์จะสามารถสั่งใช้ยาแก้ปวดเพื่อควบคุมและบรรเทาอาการปวดได้
บาดแผลหนอง
บาดแผลหนองหรือการติดเชื้อในแผลหลังการผ่าฟันคุดเป็นผลข้างเคียงที่เป็นไปได้หากรักาความสะอาดไมเพียงพอ ควรรักษาความสะอาดโดยการแปรงฟันอย่างอ่อนโยนและเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ หากมีอาการบาดแผลหนอง ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรับการรักษาและป้องกันการเป็นภาวะแบคทีเรียหลังการผ่าฟันคุด
อาการชา
เนื่องจากรากฟันคุดในบางตำแหน่งอยู่ใกล้เส้นประสาทฟันล่างอาจทำให้เกิดอาการชาริมฝีปากล่างภายหลังการผ่าฟันคุด ซึ่งจะค่อยๆ ดีขึ้นใน 3-6 เดือน
คำแนะนำที่ดีคือควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการดูแลหลังการผ่าฟันคุดที่เหมาะสมตามสถานการณ์และอาการ
อาการหลังผ่าฟันคุดที่ควรไปพบทันต์แพทย์
- เลือดไหลมากผิดปกติ
- มีไข้สูงและแผลติดเชื้อ
- มีอาการปวดขึ้นเรื่อย ๆ และมากกว่าวันแรก
- มีอาการชาริมฝีปากร่างนานกว่าผิดปกติ
หลังผ่าฟันคุด มีอาการปวดมากทำอย่างไร ?
อาการปวดเป็นอาการปกติสำหรับการผ่าฟันคุด หากมีการเจ็บแผลและปวดมากให้รับประมานยาตามที่ทันตแพทย์สั่ง รวมถึงการประเย็นและร้อนร่วมด้วย หลังจากรับประมานยาแล้วอาการปวดจะบรรเทาลงและดีขึ้นเรื่อย ๆ หากอาการปวดไม่ลดลงและเพิ่มขึ้น ควรเข้าพบทันตแพทย์ทันที
สรุป
ฟันคุดมักมีขนาดใหญ่และไม่พอดีกับช่องปากเหมือนฟันทั่วไป ซึ่งอาจทำให้ฟันคุดเติบโตอย่างผิดทิศหรือสร้างความเสียหายให้ฟันซี่อื่นได้ รวมถึงเหงือกอักเสบร่วมด้วย ดังนั้นการผ่าฟันคุดจึงเป็นทางเลือกที่ดีเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ และยังมีการรักษาทันตกรรมอื่น ๆ ที่มีความจำเป็นที่จะต้องผ่าฟันคุดด้วยเหมือนกัน เช่น การจัดฟัน หรือการทำฟันปลอม การผ่าฟันคุดควรดำเนินการโดยทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้ เพื่อให้กระบวนการเป็นอย่างปลอดภัยและมีผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต่อสุขภาพช่องปาก ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อตรวจสอบโครงสร้างของฟันคุดและรับคำแนะนำเกี่ยวกับการผ่าฟันคุดหากมีความจำเป็น