logo

ทันตกรรมสำหรับเด็กมีอะไรบ้าง?

ทันตกรรมสำหรับเด็กมีอะไรบ้าง

Table of Contents

หลายคนอาจจะเคยได้ยินว่าควรจะพาลูกไปพบทันตแพทย์ตั้งแต่ยังเด็ก และควรจะมีการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ เพราะปัญหาช่องปากและฟันไม่เลือกเกิด การพบหมอฟันตั้งแต่เด็กจะทำให้เด็กเข้าใจเรื่องการดูแลรักษาฟันได้เร็วขึ้น และหากมีปัญหาใด ๆ ก็จะสามารถรักษาได้อย่างรวดเร็ว ไม่กลายเป็นปัญหาที่รุนแรงขึ้นในอนาคต และถ้าหากว่าพ่อแม่หรือผู้ปกครองคนไหนที่สงสัยว่าทันตกรรมสำหรับเด็กมีอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ

เด็กควรพบหมอฟันตั้งแต่อายุเท่าไหร่

เด็กควรพบหมอฟันตั้งแต่อายุเท่าไหร่

การพาลูกไปพบหมอฟันสามารถทำได้ตั้งแต่ช่วงอายุก่อน 1 ขวบ หรือช่วงที่ฟันน้ำนมเริ่มขึ้น เนื่องจากการดูแลฟันน้ำนมมีความสำคัญอย่างมาก และเปรียบเหมือนการปลูกฝังทัศนคติที่ดีกับการทำฟันและดูแลความสะอาดในช่องปากตั้งแต่เด็ก และควรที่จะพาลูกไปตรวจฟันตามนัดของหมอฟันเป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุก 3-6 เดือน

ทันตกรรมสำหรับเด็กมีอะไรบ้าง

การทำฟันเด็กหรือทันตกรรมสำหรับเด็กมีหลากหลายอย่างด้วยกัน ซึ่งถือเป็นทันตกรรมที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองควรให้ความสนใจและมีการดูแลอย่างใกล้ชิด

การตรวจสุขภาพฟันเด็ก

สำหรับการตรวจสุขภาพฟันเด็ก จะมีการตรวจตั้งแต่ฟัน เหงือก และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่ส่งผลกับสุขภาพช่องปากของเด็ก และจะมีการให้คำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากให้กับพ่อแม่และปลูกฝังทันศคติที่ดีเกี่ยวกับการดูแลช่องปากและฟันให้กับเด็ก

การเคลือบฟลูออไรด์

การเคลือบฟลูออไรด์เป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงและป้องกันการเสื่อมโทรมของฟันน้ำนม เพราะผุง่ายกว่าฟันแท้ ซึ่งจะสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน หรือตั้งแต่ฟันน้ำนมเริ่มขึ้นนั่นเอง โดยจะมีทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่

  • ฟลูออไรด์แวนิช (Fluoride Varnish) เหมาะกับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ
  • ฟลูออไรด์เจล (Fluoride Gel) เหมมาะกับเด็กอายุตั้งแต่ 6 ขวบขึ้นไป และเหมาะกับผู้ใหญ่

(เรียนรู้เพิ่มเติม: เคลือบฟลูออไรด์ คืออะไร ป้องกันฟันผุได้จริงไหม ?)

การอุดฟันน้ำนม

การอุดฟันน้ำนม เป็นการซ่อมแซมเนื้อฟันที่มีรอยผุที่อาจเกิดจากดูแลสุขภาพช่องปากไม่ทั่วถึงตามช่วงวัยของเด็ก เพราะฟันผุจะทำให้เด็กรู้สึกเจ็บและส่งผลถึงทัศนคติที่ไม่ดีเกี่ยวกับฟันได้ ซึ่งการอุดฟันจะแบ่งตามวัสดุที่ใช้อุดฟัน ได้แก่

  • อุดฟันอะมัลกัม (Amalgam)
  • อุดฟันเรซินคอมโพสิต (Composite Resin)
  • อุดฟันกลาสไอโอโนเมอร์ (Glass Lonomer)

การถอนฟันน้ำนม

แม้ว่าปกติแล้วฟันน้ำนมจะสามารถหลุดได้เอง แต่ก็จะมีในกรณีที่ไม่สามารถหลุดเองได้ เช่น ฟันน้ำนมผุ หรือฟันน้ำนมไปเบียดกับซี่อื่น ซึ่งควรจะถอนฟันออกเพื่อไม่ให้ฟันมีการเคลื่อนผิดตำแหน่ง

การเคลือบหลุมร่องฟัน

การเคลือบหลุมร่องฟันเพื่อป้องกันฟันผุ เป็นการใช้วัสดุพอลิเมอร์ติดลงไปที่ร่องลึกด้านบนของฟันกราม เพื่อป้องกันไม่ให้เศษอาหารเข้าไปติดจนเกิดปัญหาฟันผุ และเป็นการป้องกันการเสื่อมโทรมของฟันในบริเวณหลุมร่องฟัน

การขูดหินปูนสำหรับเด็ก

การขจัดคราบหินปูที่เกาะอยู่บนฟันและซอกฟันด้วยการขูดหินปูน เป็นวิธีการที่ทำได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เพราะปัญหาคราบหินปูนสะสมจะส่งผลให้เกิดปัญหาฟันผุและโรคเหงือกอักเสบได้

การรักษารากฟันน้ำนม

การรักษารากฟันน้ำนม เป็นการรักษารากฟันในกรณีที่ฟันผุลึกถึงโพรงประสาท เพื่อรักษาไม่ให้ฟันน้ำนมซี่นั้นหลุดออกไป เพื่อรอฟันแท้ขึ้นมา เพราะหากถอนฟันน้ำนมไปเลยแต่ยังไม่ถึงเวลาที่ฟันแท้จะขึ้นอาจจะทำให้เกิดปัญหาฟันห่าง ฟันซ้อน หรือฟันล้มได้

การครอบฟันน้ำนม

การครอบฟันน้ำนมจะทำในกรณีที่มีฟันผุจำนวนมาก และไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยการอุดฟันได้ ก็จะใส่ที่ครอบฟันแทน โดยจะมีทั้งหมด 4 แบบ ได้แก่

  • ครอบฟันจากโลหะสแตนเลสสีเงิน
  • ครอบฟันจากวัสดุอุดสีเหมือนฟัน
  • ครอบฟันจากเซรามิกสีเหมือนฟัน
  • ครอบฟันสีเงินด้านใน สีขาวด้านนอก

การจัดฟันเด็ก

หรือที่เรียกกันว่าการใส่เครื่องมือป้องกันฟันล้ม ซึ่งในการจัดฟันเด็กก็จะเหมือนกับการจัดฟันทั่วไป คือจะมีทั้งการจัดฟันแบบใช้เครื่องมือติดแน่นและแบบถอดออกได้ โดยจะต้องทำการปรึกษากับทันตแพทย์ เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่ดีและเหมาะสมที่สุด (อ่านเพิ่มเติม: จัดฟันเด็กคืออะไร? เริ่มจัดได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่?)

วิธีรับมือกับลูกที่กลัวหมอฟัน

วิธีรับมือกับลูกที่กลัวหมอฟัน

แม้จะทำความเข้าใจและรู้จักกับทันตกรรมสำหรับเด็กอย่างครบถ้วนแล้ว แต่ปัญหาใหญ่คือการที่ลูกกลัวหมอฟัน หรือไม่อยากไปพบหมอฟัน ซึ่งก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของเด็ก ซึ่งหากลูกมีอาการกลัวหมอฟันจะสามารถรับมือได้ ดังนี้

  • สร้างทัศนคติที่ดีและถูกต้องเกี่ยวกับการทำฟันและการดูแลรักษาฟันให้กับเด็ก
  • เลือกช่วงเวลาในการพาลูกมาพบหมอฟันอย่างเหมาะสม ไม่ใช่แค่เวลาที่มีปัญหาฟัน แต่ควรจะพามาตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอ
  • เลือกคลินิกทันตกรรมที่มีหมอฟันเด็กโดยเฉพาะ
  • ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการรักษา เช่น ถามว่าเจ็บไหม หรือห้ามไม่ให้ลูกร้องไห้ ควรจะปล่อยให้เป็นการควบคุมดูแลของทันตแพทย์เอง

บทสรุป

ทันตกรรมสำหรับเด็กไม่ใช่เรื่องไกลตัว เนื่องจากปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันสามารถเกิดได้ตั้งแต่ยังเล็ก หากละเลยหรือมองว่าเดี๋ยวฟันน้ำนมก็จะหลุดไปเอง จะทำให้เกิดปัญหาที่รุนแรงตามมาในอนาคตได้ เนื่องจากปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันต่าง ๆ หากปล่อยไว้ก็จะยิ่งส่งผลเสียมากขึ้น จึงควรใส่ใจกับสุขภาพช่องปากและฟันของลูก และพามาพบหมอฟันอย่างสม่ำเสมอ

และที่คลินิกทันตกรรมสุขสันต์สไมล์ ยินดีให้บริการในการดูแลสุขภาพฟันของลูกน้อยของคุณ เพราะที่นี่มีทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำฟันเด็ก มีประสบการณ์ในการรับมือและจัดการความกลัวหมอฟันของเด็กได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเครื่องมือทันตกรรมก็เป็นเครื่องมือที่ทันสมัยและมีความสะอาดปลอดภัย

ทพ. ปุณณวิชช์ เจียมใจสว่างฤกษ์
ทพ. ปุณณวิชช์ เจียมใจสว่างฤกษ์

ผู้เชี่ยวชาญด้าน ทันตกรรมประดิษฐ์ ทันตกรรมรากเทียม จัดฟันใส จัดฟันโลหะ วีเนียร์เซรามิก และเป็นผู้บริหารคลินิก SuksanSmilePlus

Share This Post

Share on facebook
Share on linkedin
Share on twitter
Share on email
Related Post: