logo

ทำความรู้จักการครอบฟัน มีทั้งหมดกี่รูปแบบ แก้ปัญหาอะไรบ้าง

Table of Contents

การครอบฟัน เป็นหนึ่งในทันตกรรมที่ช่วยแก้ไขและรักษาปัญหาฟันได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากทันตกรรมในปัจจุบันมีหลากหลายอย่างมาก เรียกได้ว่าสามารถแก้ปัญหาได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะมีปัญหาในเรื่องของฟัน หรือปัญหาสุขภาพในช่องปากแบบไหน ก็จัดการได้ ซึ่งการเข้ามาของเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาสุขภาพช่องปาก ทำให้เราสามารถยิ้มและพูดคุยกับคนอื่นได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้น

การครอบฟัน คืออะไร

การครอบฟัน คือ บริการทางทันตกรรม เพื่อบูรณะและซ่อมแซมฟัน โดยใช้วัสดุคุณภาพดีที่เหมือนซี่ฟันปกติตามธรรมชาติ นำมาสวมครอบหรือคลุมฟันที่เกิดการเสียหายค่อนข้างมากลงไปทั้งซี่ เรียกได้ว่าเป็นการรักษาเพื่อเสริมความแข็งแรง และช่วยให้ฟันกลับมามีสภาพดูเป็นปกติ ซึ่งจะเน้นในกรณีที่ฟันได้รับความเสียหาย หรือมีการสูญเสียเนื้อฟันไปเป็นจำนวนมาก

หากใครที่สงสัยว่าการครอบฟันสามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้บ้าง บอกได้เลยว่าการครอบฟันสามารถแก้ไขได้หลายปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน ไม่ว่าจะเป็น

  • ช่วยแก้ปัญหาฟันผุขนาดใหญ่ที่เนื้อฟันเหลือน้อยจนไม่สามารถรักษาโดยการอุดฟันได้
  • ช่วยแก้ปัญหาฟันบิ่น ฟันแตก ฟันหัก โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดบริเวณฟันหน้าได้อย่างเป็นธรรมชาติ 
  • ช่วยแก้ปัญหาฟันกรามร้าว ที่อาจทำให้เกิดปัญหาฟันกรามแตกได้ในอนาคต
  • ช่วยแก้ปัญหาสีหรือรูปร่างของฟันที่ไม่สวยงาม
  • ช่วยเป็นเครื่องมือเสริมในการทำรากฟันเทียม การรักษารากฟันและการทำสะพานฟัน ทำให้การรักษาสมบูรณ์ และทำให้การสบฟันดีขึ้น
  • เมื่อมีฟันที่สวยงามก็จะช่วยเสริมความมั่นใจมากขึ้นได้

ผู้ที่เหมาะสำหรับการครอบฟัน

ครอบฟันสามารถใช้ได้ในหลายกรณี ไม่ได้จำกัดเฉพาะความเสียหายหนักเสมอไป แต่จะต้องเข้ารับการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง โดยมีกรณีที่สามารถครอบฟันได้ดังนี้

  • ผู้ที่ได้รับความเสียหายรุนแรง ไม่ว่าจะเป็น ฟันแตก ฟันหัก หรือฟันบิ่น
  • ผู้ที่มีปัญหาฟันผุลึกจนไม่สามารถอุดฟันได้
  • ผู้ที่ทำการรักษารากฟัน ในบางกรณีจำเป็นต้องใช้ครอบฟัน เพื่อเป็นการปกป้องฟันและรากฟัน
  • ผู้ที่ใส่รากฟันเทียม มักต้องใช้ครอบฟันสวมด้านบนซี่ที่ได้รับการรักษา
  • ผู้ที่ใส่สะพานฟัน เนื่องจากมีครอบฟันเป็นส่วนประกอบของสะพานฟันเช่นกัน
  • ผู้ที่มีปัญหาฟันเปลี่ยนสีอย่างเห็นได้ชัด
  • ผู้ที่ได้รับการอุดฟันรูใหญ่และสังเกตเห็นได้ชัด
  • เด็กที่ฟันน้ำนมผุ เด็กที่ฟันน้ำนมเสี่ยงต่อฟันผุ และไม่อาจรักษาได้ด้วยการอุดฟัน 

วัสดุที่ใช้ครอบฟันมีกี่แบบ

วัสดุที่ใช้ในการทำครอบฟันมีด้วยกัน 5 ชนิด โดยทันตแพทย์จะมีปัจจัยในการเลือกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ตำแหน่งที่ต้องการใส่ครอบฟัน การใช้งานของครอบฟันซี่นั้น หรือจำนวนฟันแท้ที่เหลืออยู่ เป็นต้น

ครอบฟันโลหะล้วน (FMC)

จุดเด่นของครอบฟันโลหะ คือความคงทนและแข็งแรงที่สุด โอกาสแตกหรือบิ่นน้อยมาก เหมาะสำหรับใช้กับฟันกรามที่ต้องใช้แรงบดเคี้ยวสูง แต่จะมีสีไม่เหมือนกันฟันธรรมชาติ และจำเป็นจะต้องกรอเนื้อฟันออกมาก

ครอบฟันเซรามิกล้วน (ACC)

จุดเด่นของครอบฟันเซรามิก คือมีลักษณะใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด และกรอเนื้อฟันออกน้อยกว่าครอบฟันแบบโลหะ แต่วัสดุนี้จะไม่เหมาะกับผู้ที่นอนกัดฟัน หรือผู้ที่มีฟันหน้าคร่อมสบกันลึก

ครอบฟันโลหะเคลือบเซรามิก (PFM)

จุดเด่นของครอบฟันโลหะเคลือบเซรามิก คือครอบที่ใช้โลหะเป็นโครงเพื่อสร้างความแข็งแรง และเคลือบด้วยเซรามิกให้มีลักษณะเหมือนฟันธรรมชาติ แต่จะน้อยกว่าวัสดุแบบเซรามิกล้วน ซึ่งเป็นเคลือบฟันที่เหมาะกับฟันกราม 

ครอบฟันเรซินล้วน (All-resin crown)

จุดเด่นของครอบฟันเรซินล้วน คือมีราคาถูกที่สุดเมื่อเทียบกับครอบฟันชนิดอื่น เพราะทำจากวัสดุเรซินล้วนที่คล้ายกับพลาสติก มีความแข็งแรงปานกลาง แต่มีโอกาสแตกหักได้ง่ายกว่าครอบฟันชนิดอื่น

ครอบฟันสแตนเลสสตีล (SSC)

จุดเด่นของครอบฟันสแตนเลสสตีล คือไม่เป็นสนิม ใช้เวลาไม่นาน ไม่ต้องพิมพ์ปาก เหมาะสำหรับสวมฟันน้ำนมเด็ก เพราะเมื่อฟันแท้ขึ้นมาตามธรรมชาติแล้ว ฟันน้ำนมที่สวมครอบฟันนี้ก็จะหลุดออกไปได้เอง 

บทสรุป

การครอบฟันเป็นตัวช่วยหนึ่งที่จะทำให้คุณได้กลับมายิ้มอย่างมั่นใจอีกครั้ง แต่การครอบฟันก็เป็นการแก้ปัญหาทางทันตกรรมรูปแบบหนึ่ง โดยจะต้องเลือกทำโดยทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางโดยตรง เพื่อการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด ที่สำคัญ การเลือกคลินิกทันตกรรมเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาด!

ซึ่งหากใครที่ต้องการจะทำทันตกรรมรูปแบบอื่น ๆ ร่วมกับการครอบฟัน สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ Suksan Smile เพราะมีบริการทันตกรรมให้เลือกอย่างหลากหลายและครอบคลุม โดยเจ้าหน้าที่และทีมทันตแพทย์มากประสบการณ์

ทพ. ปุณณวิชช์ เจียมใจสว่างฤกษ์
ทพ. ปุณณวิชช์ เจียมใจสว่างฤกษ์

ผู้เชี่ยวชาญด้าน ทันตกรรมประดิษฐ์ ทันตกรรมรากเทียม จัดฟันใส จัดฟันโลหะ วีเนียร์เซรามิก และเป็นผู้บริหารคลินิก SuksanSmilePlus

Share This Post

Share on facebook
Share on linkedin
Share on twitter
Share on email
Related Post: