logo

ผ่าฟันคุดกี่วันหาย? ดูแลรักษายังไง? หากมีอาการปวดต้องทำอย่างไร?

Table of Contents

ฟันคุดคือฟันกรามซี่สุดท้ายที่ไม่สามารถขึ้นเหมือนฟันปกติได้ ฟันคุดเป็นฟันที่ทำให้เรามักจะมีอาการเจ็บปวดอยู่บ่อยครั้ง รวมไปถึงผลกระทบข้างเคียง เช่น อาการฟันผุ เหงือกอักเสบ เป็นต้น เนื่องจากฟันคุดอยู่ในจุดที่เราทำความสะอาดไม่ทั่วถึง หากสังเกตุพบว่าฟันคุดเริ่มขึ้นมาแล้วส่วนมากจะต้องผ่าฟันคุดหรือถอนฟันคุดเพราะรู้สึกเจ็บและเพื่อป้องกันการเสียหายของฟันซี่อื่น

หลายคนอาจมีความกังวลใจว่าการผ่าฟันคุดนั้นอันตรายหรือไม่ เจ็บไหม ผ่ากี่วันถึงจะหาย จะต้องดูแลยังไง และสามารถกินอาหารได้ปกติหรือไม่

เพื่อความสบายในใจการเข้าใช้บริการผ่าฟันคุดและหมดกังวลเกี่ยวกับการผ่าฟันคุด สุขสันต์สไมล์พลัสจะทำการอธิบายรายละเอียดตามหัวข้อดังนี้

ผ่าฟันคุดกี่วันหาย

โดยปกติการผ่าฟันคุดทั่วไประยะเวลาการหายของแผลจะใช้เวลาประมาณ 3-7 วัน และในส่วนของการผ่าฟันคุดแบบเย็บแผลจะต้องเข้าพบแพทย์เพื่อติดตามอาการหลังผ่าและทำการตัดไหมหลังจากวันที่ผ่าประมาณ 7-14 วัน

ผ่าฟันคุดกี่วันถึงจะหายปวด ?

โดยปกติแล้วอากรปวดและบวมจะเกิดขึ้นในช่วง 2-3 วันแรก สามารถรับประทานยาแก้วปวดและอักเสบตามที่ทันตแพทย์สั่งได้เลย หลังจากนั้นอาการก็ดีขึ้นเรื่อย ๆตามระยะเวลาโดยประมาณ 7 วัน

อาการหลังผ่าฟันคุด

  • ในช่วงวันแรกหลังจากผ่าฟันคุดจะมีอาการบวมภายในและเลือดซึมจากแผลเล็กน้อย จะต้องกัดผ้าก๊อซทิ้งไว้จนเลือดหยุดและห้ามบ้วนน้ำลาย
  • หลังจากครบ 24 ชั่วโมงหลังจากการผ่าหากมีอาการปวดและบวมให้ประคบเย็นเพื่อลดอาการเหล่านี้
  • หลังจากครบ 48 ชั่วโมงให้เปลี่ยนมาประคบร้อนแทนเพื่อลดอาการช้ำ การประคบจะต้องประคบภายนอกเท่านั้นและห้ามอมน้ำแข็งและบ้วนปากโดยน้ำอุ่น
  • หลังผ่าฟันคุดในช่วงวันที่ 3-5 วัน จะยังคงมีอาการปวดและบวมอยู่ แต่ก็จะบรรเทาลง ควรรับประมานยาตามที่ทันตแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่องและแนะนำให้ประคบน้ำเย็นควบคู่ไปด้วย การทำความสะอาดควรแปรงฟันและบ้วนปากเบาๆ
  • หลังจากผ่าฟันคุดครบ 1 สัปดาห์ อาการปวดและบวมจะเริ่มจางหาย หากมีไม่อาหารข้างเคียงหรืออาการผิดปกติก็สามารถทำการตัดไหมได้เลย

หลังผ่าฟันคุดสามารถกินอะไรได้บ้าง ?

หลังจากผ่าฟันคุดช่วง 1-2 วันแรกควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เผ็ดร้อน แอลกอฮอล์ และอาหารที่แข็งและเหนียว เนื่องจากหากอาหารไปกระทบกับแผลอาจทำให้เกิดการอักเสบและระคายเคืองได้

อาหารที่ควรกินหลังจากผ่าฟันคุด ได้แก่

  • น้ำเปล่า นม
  • โยเกิร์ต
  • ขนมปัง (ไม่ควรมีงาหรือเม็ดต่างๆ)
  • ผักที่ต้มมสุกแล้ว เช่น ผักกาดขาว กะหล่ำปี เป็นต้น
  • โจ๊กหรือซุปต่างๆ
  • อาหารนิ่มที่เคี้ยวง่าย เช่น เนื้อปลา ไข่ตุ๋น ข้ามต้ม เต้าหู้ เป็นต้น

หลังจากผ่าฟันคุดได้ประมาณ 1 สัปดาห์หรือแผลหายดีแล้วก็สามารถกินอาหารได้ตามปกติ

หลังผ่าฟันคุดห้ามกินอะไรบ้าง ?

หลังผ่าฟันคุดจะมีอาหารแผลบวมและเลือดซึมบริเวณแผลควรปฏิบัติขั้นตอนการดูแลตามที่ทันตแพทย์แนะนำและควนหลีกเลี่ยงอาหารที่เสี่ยงต่ออาการแผลบวมและอักเสบ

ข้อห้ามและอาหารที่ไม่ควรกินหลังผ่าฟันคุด ได้แก่

  • ห้ามสูบบุหรี่
  • ห้ามดื่มแอลกอฮอล์
  • อาหารรสจัด เช่น รสเผ็ด และเปรี้ยว
  • อาหารที่เคี้ยวยากและเเข็ง
  • อาหารทะเล
  • อาหารที่ร้อนจัดและเย็นจัด
  • ห้ามใช้ลิ้นเขี่ยบริเวณแผล
  • ห้ามใช้นิ้วกดที่แผล
  • หลีกเลี่ยงการใช้หลอดดูน้ำ
  • งดออกกำลังกายในช่วงแรก 3-7 วัน

ผลข้างเคียงจากการผ่าฟันคุด

หลังการผ่าฟันคุด อาจเกิดผลข้างเคียงหลายอย่าง

อาการบวมและอักเสบ

บวมและและอักเสบในส่วนที่ถูกผ่าฟันคุดเป็นผลข้างเคียงที่ปกติหลังการผ่าฟันคุด การบวมอาจเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่วันหลังการผ่าฟันคุดและมักจะสามารถควบคุมได้ด้วยการใช้ยาและการประคบเย็น

อาการปวด

การผ่าฟันคุดสามารถทำให้มีอาการปวดหลังหลังอยู่ โดยทั่วไปอาการปวดจะสูงสุดในวันแรกหรือสองหลังผ่าฟันคุด ทันตแพทย์จะสามารถสั่งใช้ยาแก้ปวดเพื่อควบคุมและบรรเทาอาการปวดได้

บาดแผลหนอง

บาดแผลหนองหรือการติดเชื้อในแผลหลังการผ่าฟันคุดเป็นผลข้างเคียงที่เป็นไปได้หากรักาความสะอาดไมเพียงพอ ควรรักษาความสะอาดโดยการแปรงฟันอย่างอ่อนโยนและเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ หากมีอาการบาดแผลหนอง ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรับการรักษาและป้องกันการเป็นภาวะแบคทีเรียหลังการผ่าฟันคุด

อาการชา

เนื่องจากรากฟันคุดในบางตำแหน่งอยู่ใกล้เส้นประสาทฟันล่างอาจทำให้เกิดอาการชาริมฝีปากล่างภายหลังการผ่าฟันคุด ซึ่งจะค่อยๆ ดีขึ้นใน 3-6 เดือน

คำแนะนำที่ดีคือควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการดูแลหลังการผ่าฟันคุดที่เหมาะสมตามสถานการณ์และอาการ

อาการหลังผ่าฟันคุดที่ควรไปพบทันต์แพทย์

  • เลือดไหลมากผิดปกติ
  • มีไข้สูงและแผลติดเชื้อ
  • มีอาการปวดขึ้นเรื่อย ๆ และมากกว่าวันแรก
  • มีอาการชาริมฝีปากร่างนานกว่าผิดปกติ

หลังผ่าฟันคุด มีอาการปวดมากทำอย่างไร ?

อาการปวดเป็นอาการปกติสำหรับการผ่าฟันคุด หากมีการเจ็บแผลและปวดมากให้รับประมานยาตามที่ทันตแพทย์สั่ง รวมถึงการประเย็นและร้อนร่วมด้วย หลังจากรับประมานยาแล้วอาการปวดจะบรรเทาลงและดีขึ้นเรื่อย ๆ หากอาการปวดไม่ลดลงและเพิ่มขึ้น ควรเข้าพบทันตแพทย์ทันที

สรุป

ฟันคุดมักมีขนาดใหญ่และไม่พอดีกับช่องปากเหมือนฟันทั่วไป ซึ่งอาจทำให้ฟันคุดเติบโตอย่างผิดทิศหรือสร้างความเสียหายให้ฟันซี่อื่นได้ รวมถึงเหงือกอักเสบร่วมด้วย ดังนั้นการผ่าฟันคุดจึงเป็นทางเลือกที่ดีเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ และยังมีการรักษาทันตกรรมอื่น ๆ ที่มีความจำเป็นที่จะต้องผ่าฟันคุดด้วยเหมือนกัน เช่น การจัดฟัน หรือการทำฟันปลอม การผ่าฟันคุดควรดำเนินการโดยทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้ เพื่อให้กระบวนการเป็นอย่างปลอดภัยและมีผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต่อสุขภาพช่องปาก ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อตรวจสอบโครงสร้างของฟันคุดและรับคำแนะนำเกี่ยวกับการผ่าฟันคุดหากมีความจำเป็น

ทพ. ปุณณวิชช์ เจียมใจสว่างฤกษ์
ทพ. ปุณณวิชช์ เจียมใจสว่างฤกษ์

ผู้เชี่ยวชาญด้าน ทันตกรรมประดิษฐ์ ทันตกรรมรากเทียม จัดฟันใส จัดฟันโลหะ วีเนียร์เซรามิก และเป็นผู้บริหารคลินิก SuksanSmilePlus

Share This Post

Share on facebook
Share on linkedin
Share on twitter
Share on email
Related Post: